แนะนำเกี่ยวกับวิชาที่เรียนคือวิชารออกแบบอัตลักษณ์ในคาบแรกและให้จับกลุ่ม 5-6คนจากทั้งหมดมี 4 กลุ่มด้วยกัน เพื่อทำโครงการวิจัยออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของวิชานี้
ส่วนการบ้าน
ภายในวันที่ 16 สิงหาคมนี้ให้นักศึกษาไปสำรวจและเก็บข้อมูลผลิตภัณฑ์สินค้าโอทอปด้านสมุนไพร คนละ 1 ผลิตภัณฑ์ ของผู้ประกอบการที่ได้รับมอบหมายในแต่ละกลุ่ม จากจังหวัดชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี และลพบุรี ที่เมืองทองธานี อาคารชาเลนเจอร์ พร้อมซื้อสินค้าที่วางจำหน่ายหรือขออนุญาตถ่ายภาพสินค้าของภาพผู้ประกอบการเพื่อมาทำเป็นรายงานนำเสนอในวันที่ 18 และ 19 เป็นต้น
พร้อมให้ทำแบบสอบถามศักยภาพและความพึงพอใจก่อนการเรียนใน>>>
ลิงค์
และให้หาหมายความของคำว่า....
อัตลักษณ์
Identity คือ อัตลักษณ์ขององค์กร หรืออัตลักษณ์ของตราสินค้าต่างๆ เป็นภาพลักษณ์ ความคิดและรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคได้รับจากตราสินค้า เอกลักษณ์ คือ จุดแข็งที่เสนอคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดเพียงหนึ่งเดียว เป็นก้าวแรกขององค์กรที่จะนำพาองค์กร สู่ความสำเร็จ เช่น การบินไทย ธนาคารกสิกร ธนาคาไทยพานิชย์ ท่านก็จะนึกออกทันทีว่า สิ่งที่กล่าวมานั้น เป็นบริการอะไร ตราสัญลักษณ์เป็นแบบไหน โทนสีอะไร ภาพเหล่านั้น ก็จะแว้บขึ้นมาทันที เหล่านั้น คือ อัตลักษณ์ขององค์กรที่ทำให้ลูกค้า จดจำและ สร้างความโดดเด่นในแง่ของการแข่งขัน
โครงสร้างเอกลักษณ์(Identity Structure) ประกอบด้วย
แก่นของเอกลักษณ์ (Core Identity) แสดงถึงความเป็นแก่นของตราสินค้า โดยแก่นของเอกลักษณ์จtประกอบไปด้วยส่วนที่ทำให้ตราสินค้าเป็นเอกลักษณ์ และมีคุณค่า เช่น เครื่องดื่มเป๊ปซี่ เต็มที่กับชีวิต
ส่วนขยายเอกลักษณ์ (Extended Identity) เป็นส่วนประกอบที่ช่วยเสริมให้องค์กรมีลักษณะรูปแบบที่เฉพาะตัวและมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เป็นการสร้างจิตวิญญาณให้กับองค์กร บ่งบอกถึงความเป็นองค์กรที่เป็นการสะท้อนให้เห็นภาพที่เป็นจุดยืนขององค์กร เช่น สโลแกน สัญลักษณ์ หรือรวมไปถึงตัวผลิตภัณฑ์
ตัวอย่างของการออกแบบอัตลักษณ์
สรุป การออกแบบอัตลักษณ์ คือ การออกแบบภาพลักษณ์ทั้งหมดของ
แบรนด์(ฺBrand) เพื่อใช้เป็นสัญลักณ์ นำเสนอสื่อถึงตัวตนของสินค้านั้น ๆ ให้ดูน่าสนใจและโด่ดเด่นไม่ซ้ำใครและสามารถเพิ่มจุดขายให้กับผู้เสพสื่อ(คนภายนอก)ได้ง่ายอีกด้วย
ตราสินค้า หรือ แบรนด์ หรือ ยี่ห้อ (อังกฤษ: Brand) เป็นรูปแบบของภาพพจน์และแนวความคิด ในรูปอัตลักษณ์ คำขวัญ และผลงานออกแบบ ของสินค้าและผลิตภัณฑ์ ทั้งยังเป็นข้อมูลเชิงมโนธรรม ที่แสดงออกทางรูปธรรมด้วยสัญลักษณ์ ที่สื่อถึงบริษัท สินค้า บริการ หรือกลุ่มผู้ขาย ที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน การสร้างตราสินค้า ให้เป็นที่จดจำของลูกค้า เกิดขึ้นได้จากการโฆษณา การบอกต่อ การออกแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ในปัจจุบัน การสร้างตราสินค้า กลายมาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรม และปรัชญาการออกแบบ
สรุป คำว่า Brand หมายถึงสัญลักษณ์อันเป็นที่รวมความรู้สึกของผู้บริโภคที่มีต่อตราสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งในแง่ของลักษณะทางกายภาพ เช่นชื่อ บรรจุภัณฑ์ ราคา ความเป็นมา ชื่อเสียง วิถีทาง การสื่อสารของสินค้านั้น ๆ เป็นต้น
ตัวอย่างของสัญลักษณ์(Brand)
(เพิ่มเติม)และให้หาหมายความของคำว่า....
วิสาหกิจชุมชน (SMCE หรือ small and micro community enterprise) หมายถึง กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินค้า การให้บริการหรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตร่วมกันและรวมตัวกัน ประกอบกิจการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลในรูปแบบใด หรือไม่เป็นนิติบุคคล เพื่อสร้างรายได้และเพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชนและระหว่างชุมชน ความหมายของวิสาหกิจชุมชนโดยสรุป คือ การประกอบการเพื่อการจัดการ "ทุนของชุมชน" อย่างสร้างสรรค์เพื่อการพึ่งตนเอ"ทุนของชุมชน" ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงเงิน แต่รวมถึงทรัพยากร ผลผลิต ความรู้ ภูมิปัญญา ทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม (กฎเกณฑ์ทางสังคมที่ร้อยรัดผู้คนให้อยู่ร่วมกันเป็นชุมชน เป็นพี่เป็นน้องไว้ใจกัน)
ลักษณะสำคัญของวิสาหกิจชุมชน มีองค์ประกอบอย่างน้อย 7 ประการ
1. ชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการ
2. ผลผลิตมาจากกระบวนการในชุมชน โดยใช้วัตถุดิบ ทรัพยากร ทุน แรงงานในชุมชน เป็นหลัก
3. ริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน
4. เป็นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานภูมิปัญญาสากล
5. มีการดำเนินการแบบบูรณาการ เชื่อมโยงกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
6. มีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจ
7. มีการพึ่งพาตนเองของครอบครัวและชุมชนเป็นเป้าหมาย
(เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน หมายถึง คณะบุคคลที่รวมตัวกันโดยมีวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด
เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน ของวิสาหกิจชุมชนในเครือข่าย)
ส่วนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คือ....
(สยามรัฐรายวัน 22 มกราคม 2552)
วิสาหกิจชุมชนเป็นคำใหม่ที่ใช้กันแพร่หลายไม่กี่ปีมานี่เอง เป็นพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเมื่อเดือนมกราคม 2548 หลังจากที่มีการเสนอเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายตั้งแต่ปี 2544 โดยผู้นำชุมชนผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ความจริง ผู้คนคุ้นเคยกับคำว่ารัฐวิสาหกิจ (State Enterprise)
และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs Small and Medium Enterprises) คำแรกหมายถึงการประกอบการโดยรัฐ คำที่สองเป็นการประกอบการโดยเอกชน ส่วนวิสาหกิจชุมชนเป็นการประกอบการโดยชุมชน
พร้อมให้สมัครใน
Claroline E-Learning Thai Edition : คลาโรไลน์ไทย อีเลิร์นนิ่ง เพื่อสมัครเรียนเข้าสอบในระบบออนไลน์